My memory

Wednesday, January 24, 2007

ฟอลซิลไดโนเสาร์ ปริศนาแห่งขั้วโลก


ฟอลซิลไดโนเสาร์ ปริศนาแห่งขั้วโลก

ท่ามกลางความร้อนระอุของออสเตรเลียและดินแดนอันว่างเปล่าหนาวเหน็บของอันตาร์กติก้าเมื่อ100 กว่าล้านปีก่อน ไดโนเสาร์สามารถมีชีวิตอยู่และเอาชนะอุปสรรคจนกลายเป็นสัตว์ที่แข็งแกร่งที่สุดที่เคยมีชีวิตอยู่ในบริเวณนี้ แม้กาลเวลาจะผ่านไปเนิ่นนานแต่ที่เกิดเหตุยังคงอยู่และถูกค้นพบเรื่อยมา

เมื่อปี 1926 ได้มีการขุดค้นพบขาหลังของไดโนเสาร์ที่เก่าแก่ที่สุดของออสเตรเลีย ที่เมืองลาร์ค ควอรี่ มันคือขาของโรโตซอรัส บราวนี่ อายส์ ไดโนเสาร์พันธุ์กินพืชคอยาวหางยาว ที่คาดกันว่าเป็นหนึ่งในตระกูลซอโรพอด(ตามความหมายของละติน แปลว่า เท้าแบบสัตว์เลื้อยคลาน)ไดโนเสาร์ยุคจูราสสิก และยังเป็นซอโรพอดที่มีขนาดใหญ่แท้จริงตัวแรกของซีกโลกใต้อีกด้วยมันมีความยาวถึง 36 ฟุต สูง 20 ฟุต และหนักกว่า 20 ตัน อยู่ในโลกนี้เมื่อ 170 ล้านปีก่อน
ไครโยโลโฟซอรัส ไดโนเสาร์กินเนื้อสองขาถูกพบในอันตาร์กติก้า ชื่อของมันแปลว่าสัตว์เลื้อยคลานแช่แข็ง มันมีความพิเศษที่หงอนตรงยอดหัว แต่มันกลับไม่ได้ใช้หงอนนี้เป็นอาวุธ นักบราณคดีที่ค้นพบคาดว่าอาจเป็นเพียงเครื่องประดับที่เป็นสัญลักษณ์ให้จำกันได้ หรือใช้ในการแสดงออกเมื่อต้องการผสมพันธุ์เท่านั้น ความพิเศษที่ไม่เหมือนใครนี้ สัตว์ขั้วโลกใต้แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการในแบบของตัวเอง จนถึงปี 1989 ซากไดโนเสาร์ที่สมบูรณ์ที่สุดและกระดูกที่ปรากฏร่องรอยบนผิวหนังอย่างเด่นชัดก็ถูกค้นพบที่เมืองโรม่า ควีนส์แลนด์กลางกระดูกเหล่านี้คืออดีตของมินนี่ นักล่าเนื้อขนาดกลางที่มีชุดเกราะหุ้มทั้งหลังและท้องของมัน

ปริศนาของการมีชีวิตอยู่ในโลกของความหนาวเย็นยังมีอยู่อีกมากมาย ย้อนหลังไปเมื่อ 120ล้านปีก่อน มัตเตอเบอราซอรัส เครื่องจักรกินพืชน้ำหนัก 4.5 ตันมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร ทั้งๆ ที่ช่วงฤดูหนาวความมืดจะปกคลุมตลอด 24 ชั่วโมง ส่งผลให้พืชที่เป็นอาหารของมันหยุดการเจริญเติบโต แต่มันต้องกินพืชให้ได้วันละครึ่งตันเพื่อความอยู่รอด อย่างไรก็ตามคำถามนี้ก็ยังคงไม่ได้รับคำตอบเพราะในอันตาร์กติก้า เวลาสำหรับนักสำรวจมีเฉพาะในหน้าร้อนที่มีกลางวันนาน 20 ชั่วโมงเพียง 2 เดือนเท่านั้น แต่การค้นพบใหม่ๆ ก็ยังเกิดขึ้นคือ การได้หลักฐานที่แสดงว่าอัลโลซอรัสไดโนเสาร์กินเนื้อที่โด่งดังอยู่ที่อเมริกาเหนือเคยเดินทางมาออสเตรเลีย จากการพบกระดูกข้อเท้าหนึ่งชิ้น ไม่เพียงเท่านี้ยังทำให้รู้ได้ว่ามันเป็นไดโนเสาร์พันธุ์แคระ หลักฐานนี้จึงบ่งชี้ถึงขนาดของไดโนเสาร์ออสเตรเลียใต้ว่ามีขนาดไม่ใหญ่นัก และเมื่อถึงฤดูหนาวถ้ามันไม่สามารถอพยพไปทางเหนือ คือ เส้นศูนย์สูตรพวกมันก็ต้องอดทนจนช่วงนั้นผ่านพ้นไปให้ได้ในที่สุดเมื่อถึงปลายยุคจูราสสิกเมื่อ 140 ล้านปี ก่อนมันก็หายไปแต่กระดูกของมันก็ยังคงอยู่และถูกค้นพบในเวลาต่อมา

การสำรวจฟอสซิลของไดโนเสาร์ยังเป็นเรื่องท้าทาย อย่างเช่นการพบกระดูกช่วงขาของไดโนเสาร์สองวัย ที่ต่อมาตั้งชื่อตามลูกชายของผู้ค้นพบว่า ทิมิมัส มันเป็นไดโนเสาร์ที่ไม่มีฟันแต่มีจงอยปากล่าแมลงและสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร มีความว่องไวสามารถทะยานได้ถึง 40 ไมล์/ชั่วโมง ซึ่งทิมิมัสนี้ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของออสตริชมิมิก เพราะมีสิ่งที่คล้ายกับนกกระจอกเทศ แต่นี่ก็ไม่ถึงกับเป็นเรื่องพิเศษเพราะออสตริชมิมิกก็ถูกพบในอเมริกาเหนือเช่นกันในปัจจุบันเรื่องราวของไดโนเสาร์ยังคงน่าสนใจเพราะอีกหลายพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการสำรวจ และอีกหลายคำถามเมื่อครั้งไดโนเสาร์ครองโลกก็ยังเป็นปริศนาอยู่จนถึงทุกวันนี้

0 Comments:

Post a Comment

<< Home